สถาปัตยกรรมธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หมายเลข 1
อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
(อาคารสำนักพิมพ์เมืองโบราณเดิม)
ถนนพระสุเมรุ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ
ยังไม่ทราบผู้ออกแบบและปีออกแบบก่อสร้าง
ความเรียบง่าย ที่ไม่ได้ออกแบบกันง่ายๆ อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ อาคารเกลี้ยงๆที่เต็มเปี่ยมไปด้วยชั้นเชิงการออกแบบที่แยบยล เมื่อมองผ่านๆอาจเห็นรูปทรงของอาคารนี้เป็นเพียงกล่องสี่เหลี่ยมทื่อๆ รูปด้านหน้าคือด้านเดียวของอาคารนี้ที่ไม่ได้เป็นผนังทึบตัน แต่เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงฝีไม้ลายมือและชั้นเชิงอย่างผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของการออกแบบ ระดับจอมยุทธ์ผู้มีกระบี่อยู่ที่ใจ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกิ่งไม้ ใบหญ้า ดิน ทราย เมื่ออยู่ในมือเขาก็คงเป็นอาวุธชั้นเยี่ยมได้
ตามภาพแสดงกลวิธีการออกแบบ รูปด้านหน้าของอาคารนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วน A และ B องค์ประกอบของแต่ละส่วนถูกจัดวางไว้แตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นประโยชน์ใช้สอยอย่างซื่อๆตรงไปตรงมา น่าสังเกตว่าแม้องค์ประกอบของส่วน B จะมีความสมบูรณ์และขนาดใหญ่กว่า แต่ก็คงดูนิ่งเฉยธรรมดาเกินไป ถ้าไม่มีส่วน A มาสร้างความต่าง (Contrast) เทียบเคียงขับเน้นให้ส่วน B ปรากฏเป็นส่วนหลักที่โดดเด่น ส่วน A คงถูกกำหนดไว้อย่างจงใจให้เป็นส่วนเสริม เห็นได้จากส่วน D คือบริเวณรอยต่อระหว่างส่วนทั้งสอง ระนาบของส่วน A ถูกจัดวางให้ถอยร่นยุบเข้าไป ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองส่วนแบ่งแยกจากกัน และขับเน้นความสมบูรณ์ของส่วน B ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น แม้ส่วน A และ B จะแบ่งแยกกันชัด แต่ก็ไม่ได้ตัดขาดจากกัน ตรงกันข้ามส่วนทั้งสองนี้ดูเหมือนเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดจังหวะของส่วนทึบและส่วนเว้นว่าง (Solid-Void) ที่ล้อรับสลับกันเป็นส่วนเด่นและส่วนรอง (Positive-Negative) ทำให้ดูเพลินตา หลากหลายไม่ซำ้เดิม และการจัดวางรูปร่าง สัดส่วน และแนวของส่วนเว้นว่างและช่องเปิด (Opening) ที่ส่งต่อถึงกัน องค์ประกอบทั้งหมดจึงผสานเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ความทื่อและความซื่อที่ปรากฏในอาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ คงไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือความจงใจให้เป็นแบบแผน (Order) ในการออกแบบ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเรียบง่ายที่มีเสน่ห์ชวนมอง
ความเรียบง่าย ที่ไม่ได้ออกแบบกันง่ายๆ
อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ อาคารเกลี้ยงๆที่เต็มเปี่ยมไปด้วยชั้นเชิงการออกแบบที่แยบยล เมื่อมองผ่านๆอาจเห็นรูปทรงของอาคารนี้เป็นเพียงกล่องสี่เหลี่ยมทื่อๆ รูปด้านหน้าคือด้านเดียวของอาคารนี้ที่ไม่ได้เป็นผนังทึบตัน แต่เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงฝีไม้ลายมือและชั้นเชิงอย่างผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของการออกแบบ ระดับจอมยุทธ์ผู้มีกระบี่อยู่ที่ใจ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกิ่งไม้ ใบหญ้า ดิน ทราย เมื่ออยู่ในมือเขาก็คงเป็นอาวุธชั้นเยี่ยมได้
ตามภาพแสดงกลวิธีการออกแบบ รูปด้านหน้าของอาคารนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วน A และ B องค์ประกอบของแต่ละส่วนถูกจัดวางไว้แตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นประโยชน์ใช้สอยอย่างซื่อๆตรงไปตรงมา
น่าสังเกตว่าแม้องค์ประกอบของส่วน B จะมีความสมบูรณ์และขนาดใหญ่กว่า แต่ก็คงดูนิ่งเฉยธรรมดาเกินไป ถ้าไม่มีส่วน A มาสร้างความต่าง (Contrast) เทียบเคียงขับเน้นให้ส่วน B ปรากฏเป็นส่วนหลักที่โดดเด่น ส่วน A คงถูกกำหนดไว้อย่างจงใจให้เป็นส่วนเสริม เห็นได้จากส่วน D คือบริเวณรอยต่อระหว่างส่วนทั้งสอง ระนาบของส่วน A ถูกจัดวางให้ถอยร่นยุบเข้าไป ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองส่วนแบ่งแยกจากกัน และขับเน้นความสมบูรณ์ของส่วน B ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
แม้ส่วน A และ B จะแบ่งแยกกันชัด แต่ก็ไม่ได้ตัดขาดจากกัน ตรงกันข้ามส่วนทั้งสองนี้ดูเหมือนเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดจังหวะของส่วนทึบและส่วนเว้นว่าง (Solid-Void) ที่ล้อรับสลับกันเป็นส่วนเด่นและส่วนรอง (Positive-Negative) ทำให้ดูเพลินตา หลากหลายไม่ซำ้เดิม และการจัดวางรูปร่าง สัดส่วน และแนวของส่วนเว้นว่างและช่องเปิด (Opening) ที่ส่งต่อถึงกัน องค์ประกอบทั้งหมดจึงผสานเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน
ความทื่อและความซื่อที่ปรากฏในอาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ คงไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือความจงใจให้เป็นแบบแผน (Order) ในการออกแบบ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเรียบง่ายที่มีเสน่ห์ชวนมอง
Comments
Post a Comment