Posts

ชาร์ลส เรนนี แมคอินทอช สถาปนิกที่โลก (เคย) ลืม ตอนที่ 5 (ตอนจบ)

Image
          การทุ่มเททำงานที่สูญเปล่าและไม่ได้รับการยอมรับคงทำให้แมคอินทอชท้อแท้สิ้นหวัง ใน ขณะที่การอาศัยอยู่ ในย่านเชลซี กรุงลอนดอน ที่ ค่าครองชีพสูง ก็คงสร้างความกดดันไม่น้อย   ราวปี  1919- 20  มากาเร็ตจึงประกาศขายบ้านเลขที่  6   อาคารฟลอเรนทีน เทอร์เรซ ในเมืองกลาสโกว์   บ้านที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันเมื่อครั้งอาศัยอยู่ในเมืองกลาสโกว์  วิลเลียม เดวิดสัน เจ้าของบ้านวินดีฮิลล์  มิตรแท้ในยามยากของทั้งคู่ได้ ซื้อและเก็บรักษาบ้านหลังนี้ไว้ยาวนานกว่ายี่สิบปี  เหมือนรอคอยการกลับมาของเพื่อนผู้เป็นเจ้าของเดิม  ซึ่งไม่มีวันนั้นจวบ จนถึงวาระสุดท้ายของพวกเขา                      ปี  1923   แมคอินทอชและมากาเร็ตต้องอพยพอีกครั้งไปอาศัยอยู่ที่พอร์ต ฟองเดรอ ( Port Vendres ) เมืองชาย ทะเลทางใต้ของฝรั่งเศสเพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบสมถะ  นับจากนี้แมคอินทอชหันหลังให้กับงานออกแบบสถาปัตยกรรม  และเบนเข็มหวนกลับไปสู่งานเขียนภาพซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาแต่เยาว์วัย  ด้วยแรงบันดาลใจจาก บ้านเรือนและภูมิทัศน์ท้องถิ่น  แมคอินทอชได้สร้างผลงานจำนวนไม่น้อยที่ตื่นตาตื่นใจ

ชาร์ลส เรนนี แมคอินทอช สถาปนิกที่โลก (เคย) ลืม ตอนที่ 3 และ 4

Image
          ปี 1901  แมคอินทอชได้เลื่อนฐานะเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานสถาปนิกจอห์น ฮันนีแมน เคปปี แอนด์  แมคอินทอช  การยอมรับซึ่งมาพร้อมกับโอกาสและอิสระในการทำงานน่าจะปูทางไปสู่ความสำเร็จ  แต่เส้นทางข้างหน้าของเขากลับไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด   อาจเป็นเพราะแนวทางการออกแบบที่มุ่งไปสู่รูปแบบใหม่  ในขณะที่ผู้คนนิยมชมชอบรูปแบบที่หยิบยืมมาจากอดีต   ตั้งแต่ราว ปี  1905  จึงแทบไม่มีเจ้าของงานรายใหม่ว่าจ้างแมคอินทอชออกแบบเลย   

ชาร์ลส เรนนี แมคอินทอช สถาปนิกที่โลก (เคย) ลืม ตอนที่ 2 (ต่อ)

Image
          กว่าสองทศวรรษที่แมคอินทอชเรียนรู้ ฝึกฝน ค้นคว้า ทดลอง และพัฒนาด้วยจิตใจที่ไม่ยึดติด เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระ  อันจะนำไปสู่สถาปัตยกรรมซึ่งสะท้อนความจริงของยุคสมัยที่ผูกโยงอย่างแนบแน่นกับ ถิ่นฐานบ้านเกิดคือ เมืองกลาสโกว์และสก็อตแลนด์  ราวต้นศตวรรษที่ 20 แมคอินทอชก็ได้ก้าวไปถึงหมุดหมายแรกของเส้นทางที่จะนำไปสู่สถาปัตยกรรมแบบใหม่ (Modern)  ก้าวย่างอันเป็นจุดพลิกผลันของเขาปรากฏในผลงานออกแบบโครงการต่างๆ  

ชาร์ลส เรนนี แมคอินทอช สถาปนิกที่โลก (เคย) ลืม ตอนที่ 2

Image
ระหว่างทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่  19  ต่อเนื่องไปถึงทศวรรษแรกของศตวรรษที่  20 เป็นช่วงเวลาสำคัญยิ่งในชีวิตแมคอินทอช  ด้านการทำงาน   หลังจากแมคอินทอชได้พิสูจน์ตัวเองด้วยฝีไม้ลายมือและความมุ่งมั่นเป็นเวลานานกว่าสิบปี   ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1901   เขาได้เลื่อนฐานะเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานสถาปนิกจอห์น ฮันนีแมน เคปปี แอนด์ แมคอินทอช  (John Honeyman   Keppie   & Mackintosh  :  JHKM )  ความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการทำงานเบื้องหลังอย่างไร้ตัวตนคงคลายลง ชื่อแมคอินทอชได้ปรากฏในแบบให้เป็นที่รับรู้ทั่วกันว่าเขาคือสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการที่น่าตื่นตาตื่นใจ

ชาร์ลส เรนนี แมคอินทอช สถาปนิกที่โลก (เคย) ลืม ตอนที่ 1

Image
          เวลาห้าทุ่มเศษของคืนวันศุกร์ที่  15  มิถุนายน  2018  เพลิงได้ปะทุขึ้นที่โรงเรียนศิลปะแห่งเมือง กลาสโกว์  (Glasgow School of Art)  หน่วยกู้ภัยได้ระดมคนและอุปกรณ์ทั้งหมดที่มีเพื่อดับเพลิง  แต่ต้องใช้เวลาจนถึงรุ่งเช้าจึง สามารถควบคุมเพลิงได้  ทั่วเมืองคละคลุ้งไปด้วยควัน กลิ่นเถ้าถ่าน และเสียงรำพึงของผู้คนที่ต่างเศร้าใจกับฝันร้าย ในชีวิตจริงที่เพิ่งผ่านไป  บางคนแทบทำใจยอมรับไม่ได้ว่า จะไม่มีอาคารนี้อีกแล้วหรือ  ทั้งๆที่เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ เพิ่งจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ  150  ปี ชาร์ล เรนนี  แมคอินทอช สถาปนิกผู้ออกแบบโรงเรียนนี้

สถาปัตยกรรมธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หมายเลข 1

Image
อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์     (อาคารสำนักพิมพ์เมืองโบราณเดิม)   ถนนพระสุเมรุ  เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ยังไม่ทราบผู้ออกแบบและปีออกแบบก่อสร้าง ความเรียบง่าย ที่ไม่ได้ออกแบบกันง่ายๆ                อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์  อาคารเกลี้ยงๆที่เต็มเปี่ยมไปด้วยชั้นเชิงการออกแบบที่แยบยล เมื่อมองผ่านๆอาจเห็นรูปทรงของอาคารนี้เป็นเพียงกล่องสี่เหลี่ยมทื่อๆ รูปด้าน หน้าคือด้านเดียวของอาคารนี้ที่ไม่ได้เป็นผนังทึบตัน  แต่เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงฝีไม้ลายมือและชั้นเชิงอย่างผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้ของ การออกแบบ ระดับจอมยุทธ์ผู้มีกระบี่อยู่ที่ใจ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกิ่งไม้ ใบหญ้า ดิน ทราย เมื่ออยู่ในมือเขาก็คงเป็นอาวุธชั้นเยี่ยมได้